คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
(1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านดนตรีหรือเทียบเท่า
(2) ต้องมีคุณสมบัติ ตามข้อกำหนดของสาขาวิชาที่สมัครเข้าศึกษา
(3) กรณีสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านดนตรี หรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาจากต่างประเทศต้องมีเทียบวุฒิ และได้รับการรับรองว่าเทียบได้กับระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(4) ในกรณีที่ไม่สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาเกี่ยวกับดนตรี แต่มีประสบการณ์ในวิชาชีพดนตรี ให้พิจารณาคุณสมบัติตามดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
เวลาเรียนและค่าใช้จ่าย
(ค่าใช้จ่ายนี้ไม่ครอบคลุม ค่าใช้จ่ายในกิจกรรมเสริมหลักสูตร การศึกษาดูงาน การค้นคว้าอิสระ วิทยานิพนธ์ และการเผยแพร่ผลงาน)
โครงสร้างหลักสูตร
แผน หมวดวิชา |
แผน 1 |
แผน 2 |
1. หมวดวิชาเฉพาะด้าน 1.1 รายวิชาบังคับ 1.2 รายวิชาเลือก |
24 18 6 |
30 18 12 |
2. หมวดวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ |
12 |
6 |
3. รายวิชาเสริมโดยไม่นับหน่วยกิต |
(6)* |
(6)* |
รวม |
36 |
36 |
หน่วยกิตรวม |
36 |
36 |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- นักประพันธ์ดนตรีสมัยนิยมและแจ๊ส (Pop and Jazz Music Composer) รังสรรค์เสียงเพลงเพื่อเข้าถึงใจผู้ฟังในทุกสไตล์ดนตรี
- นักวิชาการและนักวิจัยทางดนตรี (Music Scholar and Researcher) ศึกษาและวิจัยดนตรีเพื่อพัฒนาความรู้ในวงการ
- นักประพันธ์ดนตรีสำหรับภาพยนตร์ โทรทัศน์ และเกม (Music Director or Composer for Film, TV, and Games) สร้างสรรค์เสียงเพลงที่เข้ากับทุกฉาก ทุกความรู้สึก
- นักออกแบบเสียง (Sound Designer) เนรมิตเสียงที่เสริมความสมบูรณ์ให้กับสื่อทุกประเภท
- โปรดิวเซอร์เพลง (Music Producer) ควบคุมและผลิตเพลงในแบบที่สร้างเอกลักษณ์ให้ศิลปิน
- นักออกแบบเสียงสำหรับสร้างประสบการณ์เสมือน (Immersive Experience Music Designer) สร้างเสียงดนตรีที่พาผู้ฟังไปสู่โลกเสมือนที่เหนือจินตนาการ
- ผู้ผลิตดนตรีด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI Music Specialist) ใช้เทคโนโลยี AI ในการสร้างสรรค์ดนตรีที่ล้ำสมัย
- ผู้ประกอบการด้านการผลิตดนตรี (Music Production Entrepreneur) เป็นเจ้าของธุรกิจในวงการดนตรี ต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ให้กลายเป็นธุรกิจที่มั่นคง
หลักฐานประกอบการสอบสัมภาษณ์
1. แนบ Portfolio ที่ระบุประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ผลงานทางวิชาการ และผลงานทางวิชาชีพ (กรณีบทประพันธ์ หรือผลงานทางดนตรีให้แนบ QR Code หรือลิงก์สำหรับการเข้าถึงสื่อวีดิโอหรือเสียง) ทั้งนี้การระบุผลงานหรือประสบการณ์สำคัญในด้านการสร้างสรรค์ผลงานดนตรี เทคโนโลยีการผลิตดนตรี หรืออุตสาหกรรมดนตรี จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
2. ข้อเสนอการวิจัยหรือผลงานสร้างสรรค์ทางดนตรีที่จะพัฒนาเป็นวิทยานิพนธ์ (ถ้ามี)
3. จดหมายแนะนำ (Letter of Recommendation) (ถ้ามี)
สมัครหลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีดนตรีสร้างสรรค์ ได้ที่นี่
สมัครระบบออนไลน์ ค่าสมัคร 200 บาท