คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
แผน 1.1
(1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางด้านดนตรีหรือเทียบเท่า
(2) ต้องมีคุณสมบัติ ตามข้อกำหนดของสาขาวิชาที่สมัครเข้าศึกษา
(3) กรณีสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางด้านดนตรี หรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาจากต่างประเทศต้องมีเทียบวุฒิ และได้รับการรับรองว่าเทียบได้กับระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(4) ในกรณีที่ไม่สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาเกี่ยวกับดนตรี แต่มีประสบการณ์ในวิชาชีพดนตรี ให้พิจารณาคุณสมบัติตามดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
(2) ต้องมีคุณสมบัติ ตามข้อกำหนดของสาขาวิชาที่สมัครเข้าศึกษา
(3) กรณีสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางด้านดนตรี หรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาจากต่างประเทศต้องมีเทียบวุฒิ และได้รับการรับรองว่าเทียบได้กับระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(4) ในกรณีที่ไม่สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาเกี่ยวกับดนตรี แต่มีประสบการณ์ในวิชาชีพดนตรี ให้พิจารณาคุณสมบัติตามดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
(5) เสนอหัวข้อดุษฎีนิพนธ์โดยผ่านการพิจารณาคุณภาพและความเหมาะสมโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
แผน 2.2
(1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านดนตรีหรือเทียบเท่า
(1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านดนตรีหรือเทียบเท่า
(2) ต้องมีคุณสมบัติ ตามข้อกำหนดของสาขาวิชาที่สมัครเข้าศึกษา
(3) กรณีสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านดนตรี หรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาจากต่างประเทศต้องมีเทียบวุฒิ และได้รับการรับรองว่าเทียบได้กับระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(4) ในกรณีที่ไม่สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาเกี่ยวกับดนตรี แต่มีประสบการณ์ในวิชาชีพดนตรี ให้พิจารณาคุณสมบัติตามดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
หลักฐานประกอบการสอบสัมภาษณ์
ปริญญาเอก แผน 1.1
1. แนบ Portfolio ที่ระบุประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ผลงานทางวิชาการ และผลงานทางวิชาชีพ (กรณีบทประพันธ์ หรือผลงานทางดนตรีให้แนบ QR Code หรือลิงก์สำหรับการเข้าถึงสื่อวีดิโอหรือเสียง) ทั้งนี้การระบุผลงานหรือประสบการณ์สำคัญในด้านการสร้างสรรค์ผลงานดนตรีเทคโนโลยีการผลิตดนตรีหรืออุตสาหกรรมดนตรี จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
2. ข้อเสนอการวิจัยหรือผลงานสร้างสรรค์ทางดนตรีที่จะพัฒนาเป็นวิทยานิพนธ์ (ถ้ามี)
3. จดหมายแนะนำ (Letter of Recommendation) (ถ้ามี)
4. บทคัดย่อหรือบทความตีพิมพ์ส่วนหนึงของวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท (ถ้ามี)
ปริญญาเอก แผน 2.2
1. แนบ Portfolio ที่ระบุประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ผลงานทางวิชาการ และผลงานทางวิชาชีพ (กรณีบทประพันธ์ หรือผลงานทางดนตรีให้แนบ QR Code หรือลิงก์สำหรับการเข้าถึงสื่อวีดิโอหรือเสียง) ทั้งนี้การระบุผลงานหรือประสบการณ์สำคัญในด้านการสร้างสรรค์ผลงานดนตรีเทคโนโลยีการผลิตดนตรีหรืออุตสาหกรรมดนตรี จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
2. ข้อเสนอการวิจัยหรือผลงานสร้างสรรค์ทางดนตรีที่จะพัฒนาเป็นวิทยานิพนธ์ (ถ้ามี)
3. จดหมายแนะนำ (Letter of Recommendation) (ถ้ามี)
เวลาเรียนและค่าใช้จ่าย
1. เรียน วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 17.30-21.30 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ ช่วงเวลา 08.30 – 20.50 น. แล้วแต่ตารางเรียน
2. ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 432,000 - 576,000 บาท (ไม่รวมค่าประกันของเสียหาย 1,000 บาท) แบ่งจ่ายเป็น 6 - 9 ภาคการศึกษา ๆ ละ 72,000 บาท
(ค่าใช้จ่ายนี้ไม่ครอบคลุม ค่าใช้จ่ายในกิจกรรมเสริมหลักสูตร การศึกษาดูงาน การค้นคว้าอิสระ วิทยานิพนธ์ และการเผยแพร่ผลงาน)
(ค่าใช้จ่ายนี้ไม่ครอบคลุม ค่าใช้จ่ายในกิจกรรมเสริมหลักสูตร การศึกษาดูงาน การค้นคว้าอิสระ วิทยานิพนธ์ และการเผยแพร่ผลงาน)
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
1. แผน 1.1 (รับนักศึกษาสำเร็จปริญญาโท) ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
2. แผน 2.2 (รับนักศึกษาสำเร็จปริญญาตรี) ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต
แผน หมวดวิชา |
แผน 1.1 |
แผน 2.2 |
1. หมวดวิชาเฉพาะด้าน |
- |
24 |
1.1 รายวิชาบังคับ |
- |
18 |
1.2 รายวิชาเลือก |
- |
6 |
2. หมวดวิทยานิพนธ์ |
48 |
48 |
3. รายวิชาเสริมโดยไม่นับหน่วยกิต |
(6)* |
(6)* |
รวม |
48 |
72 |
หน่วยกิตรวม |
48 |
72 |
*เฉพาะกรณีผู้สอบไม่ผ่านการทดสอบความรู้วิชาภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีดนตรีตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัยกําหนด
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- นักประพันธ์ดนตรีสมัยนิยมและแจ๊ส (Pop and Jazz Music Composer) รังสรรค์เสียงเพลงเพื่อเข้าถึงใจผู้ฟังในทุกสไตล์ดนตรี
- นักวิชาการและนักวิจัยทางดนตรี (Music Scholar and Researcher) ศึกษาและวิจัยดนตรีเพื่อพัฒนาความรู้ในวงการ
- นักประพันธ์ดนตรีสำหรับภาพยนตร์ โทรทัศน์ และเกม (Music Director or Composer for Film, TV, and Games) สร้างสรรค์เสียงเพลงที่เข้ากับทุกฉาก ทุกความรู้สึก
- นักออกแบบเสียง (Sound Designer) เนรมิตเสียงที่เสริมความสมบูรณ์ให้กับสื่อทุกประเภท
- โปรดิวเซอร์เพลง (Music Producer) ควบคุมและผลิตเพลงในแบบที่สร้างเอกลักษณ์ให้ศิลปิน
- นักออกแบบเสียงสำหรับสร้างประสบการณ์เสมือน (Immersive Experience Music Designer) สร้างเสียงดนตรีที่พาผู้ฟังไปสู่โลกเสมือนที่เหนือจินตนาการ
- ผู้ผลิตดนตรีด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI Music Specialist) ใช้เทคโนโลยี AI ในการสร้างสรรค์ดนตรีที่ล้ำสมัย
- ผู้ประกอบการด้านการผลิตดนตรี (Music Production Entrepreneur) เป็นเจ้าของธุรกิจในวงการดนตรี ต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ให้กลายเป็นธุรกิจที่มั่นคง